วิธีนำบิลขายหลาย ๆ บิล มาออกเป็นใบกำกับภาษีใบเดียว ในโปรแกรมอีซี่เซลส์
การออกใบกำกับภาษีจากบิลขาย ตามปกติแล้วโปรแกรม อีซี่เซลส์ จะแยกส่วนของการออกบิลขาย และการออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกจากกัน ออกเลขที่แยกอิสระออกจากกัน แต่ก็ยังสามารถที่เชื่อมโยงถึงกันได้ โดยเมื่อคุณได้ทำการขายรายการสินค้าออกไปแล้ว ทั้งกรณีที่ขายเป็นเงินสด หรือ ขายเป็นเครดิต โปรแกรมก็จะทำการบันทึกรายการขายและตัดสต๊อกออกไป ซึ่งต่อมาเมื่อได้รับการร้องขอจากลูกค้าเพื่อให้ออกใบกำกับภาษี ฯ ให้ในภายหลัง คุณก็สามารถที่จะนำบิลเหล่านั้นมาออกเป็นใบกำกับภาษี ฯ ได้
โดยใบกำกับภาษี ฯ นั้น สามารถออกได้ทั้งแบบที่เป็นแบบ 1 บิลขาย ต่อ 1 ใบกำกับภาษี หรือกรณีรวมบิลขายหลาย ๆ บิล เพื่อนำไปออกเป็นใบกำกับภาษี ฯ เดียวกัน โดยสามารถที่จะระบุวันที่ในใบกำกับภาษีได้ตามต้องการได้อีกด้วย โดยจะแบ่งใบกำกับภาษีออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
- ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
- ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี
โดยโปรแกรมจะทำการเลือกให้อัตโมมัติว่าจะออกเป็นใบกำกับภาษีประเภทใด
ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นขั้นตอนวิธีในการออกใบกำกับภาษี ฯ ดังที่ได้กล่าวมา
- เลือกที่เมนู ประมวลผล/จัดการข้อมูล/ใบกำกับภาษี/ใบเสนอราคา–>ออกใบกำกับภาษี–>โดยอ้างจากชื่อลูกค้า
ซึ่งจะมีขั้นตอนทั้งหมด 4 ขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนจะมีลำกับการทำงานดังต่อไปนี้
2. ขั้นตอนที่ 1/4 พิมพ์เพื่อค้นหาชื่อลูกค้าที่ต้องการออกใบกำกับภาษี
3. ขั้นตอนที่ 2/4 เลือกบิลหลาย ๆ บิลที่ต้องการนำไปออกเป็น 1 ใบกำภาษี ฯ
4. คลิ๊กที่ออกใบกำกับภาษี
5. ขั้นตอนที่ 3/4 เลือกวันที่ของใบกำกับภาษี ฯ
6. จากนั้นให้ตรวจสอบยอดรวมว่าถูกต้องหรือไม่
7. ถ้ายอดไม่ครบ ให้ย้อนกลับไปที่ขั้นตอนที่ 2/4 เพื่อเลือกเพิ่มเติม
8. เมื่อทุกอย่างถูกต้อง ให้กดต่อไป
9. ตรวจสอบรายละเอียดความถูกต้องเป็นครั้งสุดท้าย
10. เมื่อตรวจสนอบถูกต้องเป็นที่แน่ใจแล้วให้คลิ๊กที่ บันทึกข้อมูลและสั่งพิมพ์ใบกำกับภาษี ฯ
นี่คือขั้น การออกใบกำกับภาษีจากบิลขาย ซึ่งการบริหารจัดการใบกำกับภาษี ฯ นี้ สามารถดำเนินการได้อย่างง่าย ๆ เนื่องจากโปรแกรมอีซี่เซลส์ มีความยืดหยุ่นในการใช้งานเป็นอย่างมาก โดยลักษณะการใช้งานแบบนี้เหมาะสำหรับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม อาทิเช่นร้านขายวัสดุก่อสร้าง ร้านเครื่องเขียน ประดับยนต์ อะไหล่ยนต์ และร้านกิจการประเภทอื่น ๆ ที่ต้องใบกำกับภาษี ฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการ ที่จำหน่ายสินค้าให้กับหน่วยงานราชการ บริษัทจำกัด หรือเอกชนอื่น ๆ เป็นต้น